
เกษตรเชียงใหม่ส่งเสริมการบริหารจัดการแปลงด้วยระบบเกษตรอัจฉริยะ (HandySese)
วันที่ 10 มีนาคม 2565 เวลา 09.00น. ณ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ตำบลบ่อแก้วอำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ นายเจริญ พิมพ์ขาล เกษตรจังหวัดเชียงใหม่เป็นประธานเปิดการฝึกอบรมโครงการส่งเสริมและพัฒนาต้นแบบเกษตรอัจฉริยะ นายเจษฎา กาพย์ไชย หัวหน้ากลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศ กล่าวรายงาน นางผุสดีวรรณ บุญเรือง เกษตรอำเภอสะเมิงกล่าวต้อนรับ กรมส่งเสริมการเกษตร ส่งเสริมนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่กับศูนย์เทคโนโลยอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ในการนำองค์ความรู้และเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะ คือ ระบบบริหารจัดการแปลงเกษตรด้วยระบบเกษตรอัจฉริยะ (HandySense) ซึ่งเป็นระบบที่รวบรวมเทคโนโลยีเซนเซอร์ต่างๆ ที่มีความแม่นยำเพื่อเข้ามาช่วยในกระบวนการเพาะปลูก ประกอบด้วย เซนเซอร์วัดค่าอุณหภูมิ ความเข้มแสง ความชื้นสัมพัทธ์ และความชื้นของดิน ซึ่งเกษตรกรสามารถควบคุมคุณภาพการผลิต ปริมาณของผลผลิต การลดต้นทุน และแรงงานได้มากขึ้น ทั้งยังสามารถติดตามและควบคุมการทำงานของระบบฯ ได้จากพื้นที่ห่างไกล ผ่านทางแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน โดยจังหวัดเชียงใหม่เป็น1ใน 6 ศูนย์เรียนรู้เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ทั่วประเทศ ที่ได้รับสนับสนุนงบประมาณดังกล่าวที่ศูนย์เรียนรู้ตำบลบ่อแก้ว อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อให้เป็นศูนย์เรียนรู้เทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะ สำหรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร และเกษตรกร รวมถึงบุคคลอื่นๆที่สนใจ จึงได้จัดอบรมโครงการส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกรต้นแบบเกษตรอัจฉริยะ กิจกรรมส่งเสริมนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ “ระบบบริหารจัดการแปลงเกษตรด้วยระบบเกษตรอัจฉริยะ(HandySense) กิจกรรมถ่ายทอดความรู้ให้กับเกษตรกร และประชาชนที่สนใจ จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 70· ราย 3 รุ่น โดยแบ่งออก (รุ่นที่ 1,2 จำนวน 23 ราย รุ่นที่ 3 จำนวน 24 ราย)โดยมีวัตถุประสงค์ในการถ่ายทอดความรู้ 3 หัวข้อ ได้แก่ 1องค์ความรู้หลัก ในเรื่อง ความหมายของระบบบริหารจัดการแปลงเกษตรด้วยระบบเกษตรอัจฉริยะ ขั้นตอนการทำงานของระบบบริหารจัดการแปลงเกษตรด้วยระบบเกษตรอัจฉริยะ 2 องค์ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีของศูนย์ และ 3 องค์ความรู้อื่นๆ เช่น การใช้สารชีวภัณฑ์เพื่อการป้องกัน และกำจัดศัตรูพืช รวมถึงการเยี่ยมชมการสาธิตการใช้ระบบเกษตอัจฉริยะ(HandySense) ในแปลงสตรอว์เบอรี่ โดยมีวิทยากร คือ นายวิทยา นาระต๊ะ เกษตรต้นแบบเป็นวิทยากรถ่ายทอดในครั้งนี้

















