ข่าวประชาสัมพันธ์

“กรมส่งเสริมการเกษตรร่วมกับจังหวัดเชียงใหม่สร้างการรับรู้การควบคุมและป้องกันการระบาดของด้วงงวงเจาะเมล็ดมะม่วง”

วันที่ 6 กรกฎาคม2566 เวลา 08.30 น. นายเจริญ พิมพ์ขาล เกษตรจังหวัดเชียงใหม่ นายรัตณ์ ผุสดี หัวหน้ากลุ่มอารักขาพืชนายธีระศักดิ์ ศรีวิชัย. ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช. จังหวัดเชียงใหม่ ให้การต้อนรับร่วมให้ข้อมูลการขับเคลื่อนสร้างการรับรู้การจัดการด้วงงวงเจาะเมล็ดมะม่วงที่เหมาะสมอย่างยั่งยืนผู้อำนวยการกองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย นายวิชัย ตู้แก้ว ผู้อำนวยการกลุ่มจัดการศัตรูพืชหลังการเก็บเกี่ยว นายยุทธการ กองวงค์ และนางสาวปวีณา เดชคอบุตร นักวิชาการเกษตรปฏิบัติการ ลงพื้นที่ดำเนินโครงการในครั้งนี้ กรมส่งเสริมการเกษตรโดยกองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย เพื่อลงพื้นที่สร้างการรับรู้และการควบคุมการระบาดของด้วงงวงเจาะเมล็ดมะม่วง ในพื้นที่ อำเภอเชียงดาว และอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ไทยส่งออกมะม่วงอันดับที่ 2 ในอาเซียน และอันดับที่ 7ของโลก พันธุ์มะม่วงที่มีศักยภาพส่งออก อาทิ มะม่วงน้ำดอกไม้ มหาชนก เขียวเสวย และโชคอนันต์ ตลาดส่งออกสำคัญของไทยส่วนใหญ่เป็นตลาดคู่ FTA สัดส่วนการส่งออกของการส่งออกมะม่วงสดทั้งหมด ▪ มาเลเซีย 46% ▪ เกาหลีใต้ 34% ▪ ญี่ปุ่น 8% ▪ เมียนมา 4% ▪ เวียดนาม 2%คิดเป็นมูลค่า 3,223.48ล้านบาทพื้นที่ปลูกมะม่วง 423,258 ไร่ ปลูกมากที่สุด ได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก เชียงใหม่ ลำพูน เลย สุโขทัย น่านประจวบคีรีขันธ์ เชียงราย เพชรบูรณ์ และจังหวัดฉะเชิงเทรา ตามลำดับในส่วนจังหวัดเชียงใหม่มีพื้นที่ปลูก 72,757 ไร่ เกษตรกร 11,780 ราย ปลูกมากในอำเภอเชียงดาว พร้าว ฝาง แม่อาย เวียงแหง ไชยปราการ และอำเภอดอยหล่อ พันธุ์ที่ปลูกมากที่สุด ได้แก่ น้ำดอกไม้สีทอง น้ำดอกไม้สีทองเบอร์ 4 โชคอนันต์ จินหวง มหาชนก และพันธุ์อื่นๆ “ด้วงงวงเจาะเมล็ดมะม่วง” (Mango Seed Weevil)เป็นศัตรูที่สำคัญของมะม่วงราคามะม่วง มีผลต่อการส่งออก ปริมาณและมูลค่าการส่งออก กรมส่งเสริมการเกษตรจึงมีมาตรการการบริหารจัดการ อาทิ การสร้างการรับรู้แก่เกษตรกรและผู้เกี่ยวข้อง การเฝ้าระวังดูแลในพื้นที่ การจัดการด้วงงวงมะม่วงเมื่อก่อนเกิดการระบาด และในระหว่างเกิดการระบาดพร้อมทั้งติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่องพร้อมทั้งลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์ ณ พื้นที่ส่งเสริมการเกษตรแปลงใหญ่มะม่วง อำเภอเชียงดาวและ วิสาหกิจชุมชนผู้รับซื้อมะม่วง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

ปิดความเห็น บน “กรมส่งเสริมการเกษตรร่วมกับจังหวัดเชียงใหม่สร้างการรับรู้การควบคุมและป้องกันการระบาดของด้วงงวงเจาะเมล็ดมะม่วง”