ลักษณะอาการ ไรขาวพริกชอบดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบอ่อน, ยอดที่แตกใหม่ของพืช และผลเนื่องจากปากของ ไรขาวไม่แข็งแรง จึงไม่สามารถดูดกินน้ำเลี้ยงจากส่วนต่างๆ ของพืชที่มีลักษณะหนาแข็งได้พริกที่ถูกไรขาวเข้าทำลายจะมีอาการใบหงิก ขอบใบม้วนลง ยอดอ่อนแตกเป็นฝอย ก้านใบยืดออก ใบเรียวเล็ก ใต้ใบเป็นสีน้ำตาล ใบจะหนาแข็ง และเปราะ อาการใบม้วนงอหงิก ใบที่ยอดเรียวเล็กหดสั้น ใบที่ 3-5 เรียวเล็กแต่ยาว ขอบใบมีลักษณะม้วนงอลง ยอดอ่อนแตกเป็นฝอย ก้านใบยืดออก ใต้ใบมีสีน้ำตาล ใบจะหนาแข็งและ
วิธีการป้องกันกำจัด
1. ลดความชื้นโดยการตัดแต่งพุ่มให้อากาศถ่ายเท และแดดส่องถึงพื้นดิน
2. เมื่อพบอาการให้ฉีดพ่นเชื้อราบิวเวอเรีย อัตรา 1 กิโลกรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ทุกๆ 3-7 วัน
3. ควรตรวจดูต้นพริกที่ปลูกทุก 7 วัน โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนซึ่งเป็นระยะที่พริกกำลังแตกใบอ่อน ถ้าสังเกตเห็นพริกเริ่มแสดงอาการใบหรือยอดหงิก ให้ใช้กำมะถันผง อัตรา 60-80 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นตรงบริเวณที่เกิดการระบาด และบริเวณใกล้เคียงโดยพ่น 2 ครั้ง ห่างกัน 3 วัน และพ่นซ้ำเมื่อพบการระบาด (ไม่ควรพ่นในเวลาแดดจัดเพราะจะทำให้เกิดอาการใบไหม้ได้)
4. ถ้าพบในระยะที่ไรระบาดมากแล้วควรใช้สารเคมีต่อไปนี้อย่างใดอย่างหนึ่ง อามีทราซ อัตรา 40-60 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่น 2 ครั้ง ห่างกัน 5-7 วัน และพ่นซ้ำหากพบว่ายังมีไรระบาด หรือไพริดาเบน อัตรา 10 กรัม, ฟิโปรนิล อัตรา 10-20 มิลลิลิตร, อิมาเม็ก ตินเบนโซเอต อัตรา 10 มิลลิลิตร, สไปโรมีซิเฟน อัตรา 8 มิลลิลิตร 5. กรณีพริกที่ปลูกแบบสวนครัว การเด็ดยอดที่หงิกไปทำลายเสียจะช่วยลดการระบาดของไรขาวได้
อื่นๆที่เกี่ยวข้อง
📣📣ประชาสัมพันธ์ แจ้งการเปลี่ยนแปลงแบบฟอร์มเอกสาร แบบคำขอใบรับรองแหล่งผลิต GAP พืช แบบคำขอรับรองแหล่งผลิตอินทรีย์ ของกรมวิชาการเกษตรค่ะ 📌📌เกษตรกรท่านใดสนใจ สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอสะเมิง ,สำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงใหม่ หรือสำวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1 ได้นะคะ 😊😊😊
ตัวอย่างการกรอกเอกสารเพื่อรับการขึ้นทะเบียนเกษตรกรของสำนักงาเกษตรอำเภอสะเมิง
เตือนการเฝ้าระวัง โรคเหี่ยวในกล้วย