เชื้อสาเหตุ Phomopsis obscurans
ลักษณะอาการ
ใบเกิดเป็นจุดไหม้สีน้ําตาลบนใบ และลุกลามไปยังขอบใบ ขอบแผลมีลักษณะจางมีสีม่วงหรือม่วงแดงล้อมรอบ
และไม่มีรูปร่างที่ชัดเจนเป็นได้ทั้งแผลกลมหรือยาว แต่ถ้าเกิดแผลติดกับเส้นกลางใบ แผลจะมีรูปร่างเป็นตัววี ในระยะนี้
ส่วนกลางของแผลจะเห็นเป็นจุดสีดํา มีขนาดเล็ก เมื่อแผลขยายใหญ่มีลักษณะค่อนข้างยาว กลางแผลเป็นสีน้ําตาลเข้ม
ถัดออกมาเป็นสีน้ําตาลอ่อน รอบนอกสุดจะเป็นสีม่วง แผลค่อยๆ แห้งแตกแข็งและนูนเด่นขึ้นมา โดยทั่วไปแผลมีขนาด
ประมาณ 1/4 – 1/3 ของใบหรือเล็กกว่า แต่ถ้าระบาดมากจะขยายไปเกือบทั้งใบ และแห้งตายในที่สุด
การแพร่ระบาด
แพร่ระบาดได้โดยติดไปกับส่วนขยายพันธุ์ หรือลม น้ําพาเอาสปอร์ไป
กรมส่งเสริมการเกษตร แนะนําวิธีการป้องกันกําจัด ดังนี้
1. สํารวจแปลงนาอย่างสม่ําเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง
2. เก็บเศษซากพืชและใบที่เป็นโรคเผาทําลายนอกแปลง
3. พ่นด้วยสารเคมีป้องกันกําจัดเชื้อรา เช่น เมนโคเซบ สลับกับ เบนโนมิล หรือ คาร์เบนดาซิม ตามอัตราแนะนํา
4. เมื่อพบว่าโรคเริ่มระบาดควรพ่นด้วยสารเคมีป้องกันกําจัดเชื้อรา เช่น เบนโนมิล อัตรา 10 กรัม ต่อน้ํา 20 ลิตร
หรือไธแรม 50 กรัม ต่อน้ํา 20 ลิตร

อื่นๆที่เกี่ยวข้อง
📣📣ประชาสัมพันธ์ แจ้งการเปลี่ยนแปลงแบบฟอร์มเอกสาร แบบคำขอใบรับรองแหล่งผลิต GAP พืช แบบคำขอรับรองแหล่งผลิตอินทรีย์ ของกรมวิชาการเกษตรค่ะ 📌📌เกษตรกรท่านใดสนใจ สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอสะเมิง ,สำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงใหม่ หรือสำวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1 ได้นะคะ 😊😊😊
ตัวอย่างการกรอกเอกสารเพื่อรับการขึ้นทะเบียนเกษตรกรของสำนักงาเกษตรอำเภอสะเมิง
เตือนการเฝ้าระวัง โรคเหี่ยวในกล้วย