ความแตกต่างระหว่างโรคเหี่ยวกล้วย ที่มีสาเหตุมาจากเชื้อราและเชื้อแบคทีเรีย

🍌

ความแตกต่างระหว่างโรคเหี่ยวกล้วย ที่มีสาเหตุมาจากเชื้อราและเชื้อแบคทีเรีย🍌

คลิกอ่าน : https://esc.doae.go.th/panama-disease/

——————

เชื้อรา (Fusarium oxysporum f.sp. cubense)

เชื้อแบคทีเรีย (Ralstonia syzygii subsp. celebesensis)

ใบ

🌱เชื้อรา : ใบกล้วยที่อยู่รอบนอกหรือใบแก่ แสดงอาการเหี่ยวเหลือง ใบจะเหลืองจากขอบใบและลุกลามเข้ากลางใบ รวมถึงมีแผลไหม้บริเวณใบและลำต้นภายนอก

🌱เชื้อแบคทีเรีย : จะเริ่มแสดงอาการที่ใบธง (ใบอ่อน) เหี่ยวแล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลือง จากนั้นใบล่างจะแสดงอาการเหี่ยวอย่างรวดเร็วแล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและยืนต้นตายในที่สุด

เนื้อผล

🍌เชื้อรา : สีของเนื้อผลสีขาวไม่มีการเปลี่ยนสี

🍌เชื้อแบคทีเรีย : เนื้อผลจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแดง

ลำต้น

🌱เชื้อรา : เมื่อตัดลำต้นเทียบตามขวางหรือตามยาว จะพบเนื้อในของกาบใบบางส่วนเป็นสีน้ำตาลแดงและอาจพบเส้นใยของเชื้อรา

🌱เชื้อแบคทีเรีย : เมื่อตัดลำต้นแช่น้ำจะพบกลุ่มแบคทีเรียไหลออกมาเป็นสาย (Ooze)

——————

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดชัยนาท

https://www.facebook.com/people/ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช-จังหวัดชัยนาท/100064682354266/

——————

เข้าดูข้อมูลอื่น ๆ เพิ่มเติม : https://esc.doae.go.th

——————

#โรคเหี่ยวกล้วย🍌

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น