ลักษณะอาการ โรคทำความเสียหายให้กับส่วนต่างๆของลิ้นจี่ เช่น ผลที่ยังไม่แก่ และผลที่สุกแก่หลังเก็บเกี่ยว ผลจะเน่ามีราสีขาวขึ้นปกคลุมผลภายในกล่องกระดาษ บรรจุลิ้นจี่ขณะนำส่ง เกิดจากเชื้อราสาเหตุปนเปื้อนไปกับผลไม้และใบลิ้นจี่ ราจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ทำให้ผลผลิตเสียหายอย่างรุนแรงมากไม่สามารถจำหน่ายได้ นอกจากนั้นเชื้อรายังเข้าทำลายใบ ดอก และก้านของลิ้นจี่ด้วย เมื่อเชื้อเข้าทำลายจะเกิดแผลสีน้ำตาลขึ้น และหากมีฝนตก หรือความชื้นภายในสวนสูง จะพบเส้นใยสปอร์ของเชื้อราสีขาวปกคลุมส่วนที่ทำลายเชื้อที่เข้าทำลายผลจะทำให้ผลหลุดร่วงจากต้นก่อนแก่ ผลผลิตเสียหายอย่างรุนแรง สปอร์ของเชื้อราอาจถูกลม หรือน้ำฝนพัดพาเชื้อไป ทำให้โรคระบาดรุนแรงในฤดูฝน โดยเฉพาะในช่วงที่ฝนตกติดต่อกันหลายวัน
วิธีป้องกันกำจัด
1. ลดปริมาณเชื้อสาเหตุภายในสวนลงหลังการเก็บเกี่ยว โดยการตัดแต่งกิ่งแห้ง หรือกิ่งที่ตายออกไปเผาทำลาย และก่อนการออกดอก ควรฉีดพ่นทรงพุ่มด้วย คอปเปอร์ออกซีไรด์
2. หลังการเก็บเกี่ยวและการออกดอก ฉีดพ่นทรงพุ่มด้วยสารละลายจุนสี (คอปเปอร์ซัลเฟต) โรยผิวด้วยปูนขาวทำ 2 ครั้ง
3.ในช่วงลิ้นจี่เริ่มสร้างตาดอก ระยะผลอ่อน และก่อนผลสุก ฉีดพ่นด้วยสารกำจัดเชื้อราเมตาแลกซิล หรือ ฟอสทิลออส หรือ แมนโคเซบ
อื่นๆที่เกี่ยวข้อง
📣📣ประชาสัมพันธ์ แจ้งการเปลี่ยนแปลงแบบฟอร์มเอกสาร แบบคำขอใบรับรองแหล่งผลิต GAP พืช แบบคำขอรับรองแหล่งผลิตอินทรีย์ ของกรมวิชาการเกษตรค่ะ 📌📌เกษตรกรท่านใดสนใจ สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอสะเมิง ,สำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงใหม่ หรือสำวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1 ได้นะคะ 😊😊😊
ตัวอย่างการกรอกเอกสารเพื่อรับการขึ้นทะเบียนเกษตรกรของสำนักงาเกษตรอำเภอสะเมิง
เตือนการเฝ้าระวัง โรคเหี่ยวในกล้วย