


ระยะที่ 1) ก่อนเกิดภัย ได้แก่ ด้านการป้องกัน (Prevention)
และด้านการเตรียมความพร้อม (Preparation)
ระยะที่ 2) ขณะเกิดภัย ได้แก่ ด้านการเผชิญเหตุ (Response)
ระยะที่ 3) หลังเกิดภัย ได้แก่ ด้านการฟื้นฟู (Recovery)

1) ติดตามสภาพอากาศรายวัน วิเคราะห์ ประเมินแนวโน้มจากชุดข้อมูลสภาพอากาศ สภาพพื้นที่ที่เปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะช่วงเดือนสิงหาคม – ตุลาคม 2567 ที่การปลูกข้าวใกล้เก็บเกี่ยว รวมถึงพืชไร่และพืชสวนอื่นๆ และแจ้งเกษตรกรเพื่อรับทราบข้อมูล ได้เข้าใจสถานการณ์ และเตรียมรับมือกับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น
2) ติดตามสถานการณ์ในพื้นที่อย่างใกล้ชิด กระตุ้นการสร้างการรับรู้ ความเข้าใจในสถานการณ์ และแนวโน้ม/ผลกระทบและแจ้งข้อมูลให้กับเกษตรกรในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ
3) สำรวจและสอบทานความพร้อมของอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้พร้อมในการใช้งานตลอดเวลา และเมื่อเกิดภัยพิบัติ
ให้เจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ติดตาม ประเมินสถานการณ์อย่างรวดเร็วเหมาะสมกับสถานการณ์ และให้แจ้งสิทธิ์ สอบถามสิทธิ์ สำรวจ ประเมินผลกระทบเบื้องต้น ให้คำแนะนำเตรียมการฟื้นฟูพื้นที่ให้มีศักยภาพในการผลิตได้เหมือนเดิมหรือดีกว่าเดิม
4) รายงานสถานการณ์เหตุด่วนฉุกเฉินต่อกรมส่งเสริมการเกษตร ทันที
5) ปฏิบัติงานร่วมกับกรมป้องกันบรรเทาสาธารณภัยในพื้นที่ เพื่อทำข้อมูลประกอบการพิจารณาประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน และวางแผนสำรวจความเสียหายเพื่อเสนอคณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติอำเภอ (ก.ช.ภ.อ.) โดยเร็ว
*******************************
ศูนย์ข่าวกรมส่งเสริมการเกษตร
https://doaenews.doae.go.th/archives/24272
55