ศูนย์เรียนรู้โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าการเกษตรตำบลแม่คือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

ชื่อศูนย์ฯ : ศูนย์เรียนรู้โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าการเกษตรตำบลแม่คือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่

สินค้าหลัก : เกษตรผสมผสาน (การเลี้ยงปลา, การเลี้ยงไก่, การเลี้ยงเป็ด และเกษตรปราณีต)

พื้นที่เป้าหมาย (ไร่) : 1

เกษตรกรเป้าหมาย (ราย) : 40

พิกัด
X : 511798, Y : 2078285

ชื่อเกษตรกรต้นแบบ : นายอดุลย์   เตชะ

ที่อยู่เกษตรกรต้นแบบ : เลขที่ 149  หมู่ที่ 2  บ้านแม่คือ ตำบลแม่คือ  อำเภอดอยสะเก็ด  จังหวัดเชียงใหม่

เบอร์โทรศัพท์ : 081-9519103

เทคโนโลยีเด่นของศูนย์เรียนรู้:

การทำการเกษตรแบบประณีตเป็นแปลงผสมผสานซึ่งมีการใช้พื้นที่แบบจำกัด แต่ให้เกิดประโยชน์ได้หลากหลาย

หลักสูตรฐานการเรียนรู้ :

  1. เกษตรผสมผสาน                    5. การเพาะเห็ดนางฟ้า
  2. การเลี้ยงไก่แบบแพลอยน้ำ     6. การปลูกผักปลอดสารพิษ
  3. การเลี้ยงกบในบ่อซีเมนต์        7. การทำกังหันวิดน้ำ
  4. การเลี้ยงเป็ด                           8. ชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ฐานการเรียนรู้

  1. การเลี้ยงปลา ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรตำบลแม่คือมีบ่อน้ำที่ทำการเพาะเลี้ยงปลา ได้แก่ ปลานิล ปลาทับทิม ที่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ (กรมประมง) ในการร่วมโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ ปี 2561
  2. การเลี้ยงไก่แบบแพลอยน้ำ เป็นการเลี้ยงไก่ที่ทำให้ไก่มีอารมณ์ดี และมูลไก่ที่ถ่ายลงน้ำก็ยังเป็นอาหารของปลาได้ด้วย  และไข่ไก่ที่ได้ก็สามารถนำมาบริโภคและจำหน่ายได้ด้วย
  3. การเลี้ยงกบ จะมีการทำกระชังเลี้ยงกบไว้บริเวณขอบบ่อ
  4. การเลี้ยงเป็ด
  5. การเพาะเห็ดนางฟ้า เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มเกษตรกรและกลุ่มแม่บ้านได้มีอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ และสามารถนำมาบริโภคและจำหน่ายในชุมชน
  6. การปลูกพืชผักปลอดสารพิษ ได้จัดพื้นที่รอบบริเวณบ่อเลี้ยงปลา ปลูกผักสวนครัว และไม้ผลหลากหลายชนิด โดยใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ในการบำรุงพันธุ์ไม้ต่างๆ เพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในการดูแล สามารถนำมาบริโภคในครัวเรือน และจำหน่ายในชุมชนได้
  7. กังหันวิดน้ำใช้ปรับสภาพน้ำในบ่อเลี้ยงปลา เพื่อปรับสภาพน้ำ เพิ่มออกซิเจนให้ปลาที่เลี้ยงไว้ โดยประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ เพื่อต้นแบบให้กับเกษตรกรในพื้นที่
  8. ชีววิถีเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ได้ดำเนินการเป็นตัวอย่างในการทำการเกษตรตามสภาพชีวิตพื้นฐาน เพื่อยืนยันว่าเกษตรกรในพื้นที่สามารถทำการเกษตรที่ดีต่อสภาพชีวิต  โดยไม่ต้องใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่มากมาย  รวมถึงการใช้ต้นทุนที่จำกัด ลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร สามารถดำรงชีววิถีเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

                               

เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ นางธนปพร   มณีกุล   
ตำแหน่ง เจ้าพนักงานเคหกิจเกษตรชำนาญงาน
หมายเลขโทรศัพท์ 0897347792