ระวัง หนอนแมลงวันชอนใบ ในพืชตระกูลกะหล่ำ

ระวัง หนอนแมลงวันชอนใบ ในพืชตระกูลกะหล่ำ (เช่น กวางตุ้ง คะน้า)

สภาพอากาศในช่วงนี้อากาศร้อนและมีฝนตก เตือนผู้ปลูกพืชตระกูลกะหล่ำ (เช่น กวางตุ้ง คะน้า) ในระยะ รับมือหนอนแมลงวันชอนใบ ตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่ภายในผิวใบพืช เมื่อไข่ฟักเป็นตัวหนอนที่มีลักษณะหัวแหลมท้ายป้าน ตัวหนอนจะชอนไชอยู่ในใบพืช ทำให้เกิดรอยเส้นสีขาวคดเคี้ยวไปมา เมื่อนำใบพืชมาส่องดูจะพบหนอนตัวเล็กๆ สีเหลืองอ่อนโปร่งใส อยู่ภายในเนื้อเยื่อ หากหนอนแมลงวันชอนใบระบาดรุนแรงจะทำให้ใบพืชเสียหายจนมีผลกระทบต่อผลผลิต

แนวทางป้องกัน/แก้ไข

๑. เก็บและเผาทำลายเศษใบพืชที่ถูกทำลายเนื่องจากหนอนแมลงวันชอนใบ จะช่วยลดการแพร่ระบาดได้ เนื่องจากดักแด้ที่อยู่ตามเศษใบพืชจะถูกทำลายไปด้วย
๒. พ่นด้วยสารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพ ได้แก่ อิมิดาโคลพริด ๑๐% เอสแอล อัตรา ๒๐-๓๐ มิลลิลิตรต่อน้ำ ๒๐ ลิตร หรือ ฟิโพรนิล ๕% เอสซี อัตรา ๒๐-๔๐ มิลลิลิตรต่อน้ำ ๒๐ ลิตร หรือ ไซเพอร์เมทริน ๔๐ % ดับเบิ้ลยูพี อัตรา ๑๕-๒๐ กรัมต่อน้ำ ๒๐ ลิตร หรือ เบตา-ไซฟลูทริน ๒.๕% อีซี อัตรา ๓๐ มิลลิลิตรต่อน้ำ ๒๐ ลิตร หรือ ไดโนทีฟูแรน ๑๐% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา ๒๐ กรัมต่อน้ำ ๒๐ ลิตร

ที่มา : กรมวิชาการเกษตร

https://www.facebook.com/photo/?fbid=327541406191747&set=a.257770309835524