ผลกระทบจากการใช้
สารเคมีทางการเกษตรของประเทศไทย
(The Impact of the Use of Agricultural Chemicals
in Thailand)

สถานการณ์การใช้สารเคมีทางการเกษตรของประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปีในขณะที่
พื้นที่การเพาะปลูกยังคงมีอยู่เท่าเดิม ในปี 2554 พบว่า มีมูลค่าการนําเข้าเป็นจํานวนมากกว่า 22,034
ล้านบาท ซึ่งเป็นการบ่งชี้ว่าเกษตรกรของไทยมีปริมาณการใช้สารเคมีทางการเกษตรต่อไร่เพิ่มสูงขึ้น
แม้ว่าสารเคมีทางการเกษตรจําพวกปุ๋ยจะเป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของพืชอาหาร ช่วยลดความเสี่ยง
ในเรื่องความเสียหายต่อผลผลิต ทําให้ผลิตภาพทางการเกษตรเพิ่มสูงขึ้น สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร
และเศรษฐกิจของประเทศ แต่การใช้สารเคมีที่มากเกินความจําเป็น และไม่ถูกต้องเหมาะสมก็จะทําให้
เกิดผลกระทบด้านต่างๆ กล่าวคือ ด้านสุขภาพ พบว่า ในปี 2550 มีเกษตรกรที่มีความเสี่ยงและ
ไม่ปลอดภัยจากสารเคมีกําจัดศัตรูพืชถึงร้อยละ 39 ด้านสิ่งแวดล้อม พบการตกค้างของสารเคมี
ในสิ่งแวดล้อม ส่วนในด้านเศรษฐกิจ ผลการประเมินผลกระทบทางเศรษฐศาสตร์โดยการวิเคราะห์
ผลกระทบภายนอกจากสารเคมีกําจัดศัตรูพืช พบว่า ในปี 2553 มีมูลค่าผลกระทบภายนอกสูงถึง
14 พันล้านบาท และเมื่อผนวกมูลค่าการนําเข้ากับต้นทุนผลกระทบภายนอก ทําให้ต้นทุนที่แท้จริง
ของสังคมจากการใช้สารเคมีกําจัดศัตรูพืชสูงถึง 32 พันล้านบาทต่อปีและมีสถิติเพิ่มข้ึนอย่างต่อเนื่องทุกปี
นอกจากนี้ยังมีความเสียหายจากการส่งออกที่มีสาเหตุมาจากสารตกค้างในสินค้าทางการเกษตร ซึ่งทําให้
เกิดความเสียหายปีละประมาณ 800 – 900 ล้านบาท ส่งผลทางลบต่อภาพลักษณ์ของประเทศในฐานะ
ผู้ส่งออกสินค้าทางการเกษตรและอาหารรายใหญ่ของโลก
อย่างไรก็ตามแม้ว่าประเทศไทยและนานาประเทศได้พยายามกําหนดกลไกในการควบคุมการใช้
สารเคมีทางการเกษตรให้มีปริมาณลดลงและเกิดความปลอดภัยในการใช้มากยิ่งขึ้น แต่ผลกระทบเชิงลบ
ในด้านต่างๆ ของประเทศไทยยังคงมีสถิติเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นเพื่อลดผลกระทบเชิงลบจากการ
ใช้สารเคมีทางการเกษตร จึงมีข้อเสนอแนะดังนี้
1) ทุกภาคส่วนควรช่วยกันสร้างความตระหนักรู้ถึงผลกระทบเชิงลบในการใช้สารเคมี
ทางการเกษตรที่มากเกินความจําเป็นและไม่เหมาะสม รวมทั้งร่วมกันปลูกฝังจิตสํานึกความรับผิดชอบ
สําหรับทุกคนที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่การผลิตอาหารและการเกษตร
2) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเผยแพร่ความรู้ในการใช้สารเคมีทางการเกษตรที่ถูกต้องและ
เหมาะสมแก่เกษตรกร รวมทั้งส่งเสริมการเรียนรู้และรณรงค์ให้เกษตรกรปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัติ
ทางการเกษตรที่ดีสําหรับพืช (Good Agricultural Practice : GAP)
3) ส่งเสริมให้องค์กรผู้บริโภคหรือหน่วยงานที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค
มีบทบาทในการเข้ามากําหนดมาตรฐาน และกฎเกณฑ์ต่างๆ เพื่อให้ผลผลิตทางการเกษตรปราศจาก
สารพิษตกค้าง
4) คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคควรควบคุมการโฆษณาสินค้าสารเคมีทางการเกษตรทางสื่อ
แขนงต่างๆ ให้มีความเหมาะสม รวมทั้งให้มีข้อความเตือนภัยของสารเคมีชนิดนั้นๆ ปรากฏอยู่ด้วยเสมอ

5) จัดตั้งกองทุนโดยการจัดเก็บจากผู้ประกอบการที่นําเข้า ผลิต และจําหน่ายสารเคมี
ทางการเกษตร เพื่อนํามาใช้ในการเยียวยา ชดเชย และสนับสนุนการผลิตที่ปลอดภัยตามมาตรฐาน
การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสําหรับพืช (Good Agricultural Practice : GAP)
6) รัฐควรควบคุมช่องทางการจําหน่ายสารเคมีทางการเกษตรให้เป็นไปตามกฎหมาย
อย่างเคร่งครัด และกําหนดให้มีผู้เชี่ยวชาญด้านสารเคมีหรือผู้มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพประจําร้านขาย
สารเคมีทางการเกษตร รวมทั้งควบคุมการส่งเสริมการขายสารเคมีหรือวัตถุมีพิษทางการเกษตรอย่างไร้
จรรยาบรรณของผู้จําหน่ายสารเคมีทางการเกษตร เช่น การให้รางวัลในการส่งเสริมการขายกับตัวแทน
จําหน่าย เป็นต้น
7) ควรยกเลิกการขึ้นทะเบียนสารเคมีทางการเกษตรที่มีพิษรุนแรง เช่น คาร์โบฟูราน เมทโทมิล
อีพีเอ็น ไดโคร – โตฟอส เป็นต้น ซึ่งเป็นสารเคมีที่สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และอีกหลายประเทศ
ในเอเชียห้ามใช้แล้ว
8) รัฐบาลควรศึกษาข้อมูลของคู่ค้า โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และประเทศคู่ค้า
ที่สําคัญอื่นๆ และกฎระเบียบระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารเคมีทางการเกษตร เพื่อพัฒนา
สินค้าทางการเกษตรให้เป็นไปตามมาตรฐานของประเทศต่างๆ เหล่านั้น ทั้งนี้เพื่อลดความสูญเสีย
ทางด้านการค้าจากการกีดกันหรือยกเลิกสินค้าเกษตรของไทย
9) จัดตั้งศูนย์กลางการแจ้งเตือนภัยด้านอาหารที่สามารถสื่อสารต่อสาธารณะได้ทันต่อ
สถานการณ์อย่างเป็นรูปธรรม