เตือนภัยศัตรูพืช “เพลี้ยแป้งในมะละกอ”

🟠การเข้าทำลาย

ช่วงอากาศร้อนชื้น ในพื้นที่ปลูกมะละกอ ระวังการเข้าทำลายของเพลี้ยแป้งในระยะติดผล เพลี้ยแป้งระยะตัวอ่อนแลัตัวเต็มวัย ดูดกินน้ำเลี้ยงที่ยอดอ่อน ใบ ดอก และผล โดยมีมดดำช่วยพาไปยังส่วนต่าง ๆ ของต้นมะละกอ การทำลายที่ดอกและผลอ่อน ทำให้ดอกและผลมะละกอหลุดร่วง

แนวทางการป้องกันกำจัด

🟠สำรวจแปลงเป็นประจำ โดยเฉพาะแนวขอบแปลงทิศเหนือลม หรือขอบแปลงที่ติดกับแปลงพืชอื่น ถ้าพบการระบาด ตัดส่วนที่พบไปทำลาย และพ่นสารกำจัดแมลงที่แนะนำบริเวณจุดที่พบเพลี้ยแป้งและรัศมีโดยรอบ เพื่อกันการกระจายตัวของเพลี้ยแป้ง

🟠กำจัดวัชพืชที่เป็นแหล่งอาศัยของเพลี้ยแป้ง

🟠กำจัดมดดำและแหล่งอาศัยของมดที่เป็นพาหนะ (carry) ของเพลี้ยแป้ง

🟠ก่อนการย้ายกล้ามะละกอลงปลูก ตรวจเพลี้ยแป้งติดมากับต้นกล้า หากพบควรทำลายนอกแปลง อาจใช้สารเคมีรองก้นหลุม เช่น ไดโนทีฟูแรนหรือคาร์แทป ไฮโดรคลอไรด์ ชนิดเกล็ด

——————–

ที่มา : สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองกำแพงเพชร

https://www.facebook.com/profile.php?id=100028983577766