ข้อมูลพื้นฐานด้านการเกษตร

1. จำนวนครัวเรือน

ตารางที่ 1 แสดงจำนวนประชากรและครัวเรือน

    ข้อมูล  :  สำนักทะเบียนกลาง   ณ วันที่  2 พฤษภาคม 2565

2. พื้นที่การเกษตร  มีพื้นที่ทั้งหมด จำนวน  63,006  ไร่  ดังนี้

ตารางที่  2  พื้นที่การเกษตรอำเภอแม่ออน  จังหวัดเชียงใหม่

ที่มา : สำนักงานเกษตรอำเภอแม่ออน , 2565

2.1 ข้อมูลด้านการเกษตรพืชเศรษฐกิจ

ตารางที่ 3 แสดงข้อมูลการปลูกพืชเศรษฐกิจอำเภอแม่ออน

3. ลักษณะดินและกลุ่มชุดดิน 

อำเภอแม่ออน มีกลุ่มชุดดินทั้งหมด 19 ชุดดิน โดยมีชุดดินที่มีพื้นที่มากสุด คือ กลุ่มชุดดินที่ 62  พื้นที่ 235515.60 ไร่  กลุ่มชุดดินที่ 47 พื้นที่ 12977.71 ไร่ และ กลุ่มชุดดินที่ 56 พื้นที่ 6413.84 ไร่ตามลำดับ รายละเอียดดังนี้

 ชุดดินที่ 62 (235,515.60 ไร่)

          ลักษณะเด่น  

                     พื้นที่ลาดชันเชิงซ้อนที่มีความลาดชันมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ พื้นที่บริเวณนี้ยังไม่มีการศึกษา สำรวจและจำแนกดิน เนื่องจากสภาพพื้นที่มีความลาดชันสูง ซึ่งถือว่ายากต่อการจัดการดูแลรักษาสำหรับเกษตรกร

          สมบัติของดิน

                     กลุ่มดินนี้ประกอบด้วยพื้นที่ภูเขาและเทือกเขาซึ่งมีความลาดชันมากกว่าร้อยละ 35 ลักษณะและสมบัติของดินที่พบไม่แน่นอน มีทั้งดินลึกและดินตื้น ลักษณะของเนื้อดินและความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติแตกต่างกันไปแล้วแต่ชนิดของหินต้นกำเนิดในบริเวณนั้น มักมีเศษหิน ก้อนหิน หรือพื้นโผล่กระจัดกระจายทั่วไป ส่วนใหญ่ยังปกคลุมด้วยป่าไม้ประเภทต่างๆ เช่น ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง หรือป่าดงดิบชื้น หลายแห่งมีการทำไร่เลื่อนลอย โดยปราศจากมาตรการในการอนุรักษ์ดินและน้ำ ซึ่งเป็นผลทำให้เกิดการชะล้างพังทลายของหน้าดิน จนบางแห่งเหลือแต่หินโผล่

          การใช้ประโยชน์

                     กลุ่มดินนี้ไม่ควรนำมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตร เนื่องจากมีปัญหาหลายประการที่มีผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ ควรสงวนไว้เป็นป่าตามธรรมชาติเพื่อรักษาแหล่งต้นน้ำลำธาร

          ปัญหา

                     มีความลาดชันสูง ในพื้นที่ทำการเกษตรจะเกิดการชะล้างพังทลายสูญเสียหน้าดินอย่างรุนแรง ขาดแคลนน้ำและบางพื้นที่อาจพบชั้นหินพื้นหรือเศษหินกระจัดกระจายอยู่บริเวณหน้าดิน

          แนวทางการจัดการดินเพื่อการปลูกพืช  

                  ปลูกข้าว

ปลูกพืชผักหรือไม้ผล

ปลูกพืชไร่หรือพัก

ชุดดินที่ 47  (12,977.71 ไร่)

ลักษณะเด่น  

                     กลุ่มดินต้นถึงขั้นหินพื้น ปฏิกิริยาดินเป็นกรดถึงเป็นกลาง มีการระบายน้ำดี ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ

          สมบัติของดิน

                     เป็นกลุ่มชุดดินที่เกิดจากการสลายตัวผุพังอยู่กับที่ หรือจากการสลายตัวผุพังแล้วถูกเคลื่อนย้ายมาในระยะทางไม่ไกลนัก ขอวัสดุเนื้อละเอียดที่มาจากทั้งหินตะกอน หรือหินอัคนี พบบริเวณพื้นที่ดอน ที่มีสภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนลาดจนถึงเนินเขาเป็นดินตื้น มีการระบายน้ำดี เนื้อดินเป็นพวกดินเหนียวหรือดินร่วนที่มีเศษหินปะปนมาก มักพบชั้นหินพื้นตื้นกว่า 50 เซนติเมตร สีดินเป็นสีน้ำตาล สีเหลืองหรือสีแดง ดินมี ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกลาง

          การใช้ประโยชน์

                     เป็นป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรังหรือป่าละเมาะ บางแห่งใช้ทำไร่เลื่อยลอย หรือปลูกป่าทดแทน

          ปัญหา

                     เป็นดินตื้น มีเศษหินปะปนอยู่ในเนื้อดินเป็นปริมาณมาก ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ในบริเวณที่มีความลาดชันสูงจะมีปัญหาเกี่ยวกับการชะล้างพังทลายของหน้าดินอย่างรุนแรง บางพื้นที่มีเศษหินหรือหินพื้นที่โผล่บริเวณหน้าดิน

          แนวทางการจัดการดินเพื่อการปลูกพืช

                     ปลูกข้าว

                     ปลูกพืชผักหรือผลไม้   ขุดหลุมปลูกถึงชั้นหินพื้นหรือขุดหลุมขนาด 50x50x50 เซนติเมตร ปรับปรุงหลุมปลูกด้วยหน้าดินที่ไม่มีเศษหินหรือก้อนหินร่วมกับปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 25-50 กิโลกรัม/หลุม ควรมีไม้ค้ำยันและเอาหน้าดินบริเวรใกล้เคียงมาผสมกับปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกพูนโคนอยู่เป็นประจำ มีระบบอนุรักษ์ดิน เช่นปลูกพืชคลุมดิน มีวัสดุคลุมดิน ปลูกพืชแซม ทำแนวรั้วหรือทำฐานหญ้าแฝกเฉพาะต้น             ใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกร่วมกับปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอินทรีย์น้ำ ตามชนิดพืชที่ปลูก พัฒนาแหล่งน้ำและจัดระบบการให้น้ำในแปลงปลูก

                     ปลูกพืชไร่หรือพืชผัก  เลือกพื้นที่ที่มีหน้าดินหนา จัดระบบการปลูกพืชหมุนเวียน ปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 3-4 ตัน/ไร่ หรือไถกลบพืชปุ๋ยสด (หว่านเมล็ดถั่วพร้า 10-12 กิโลกรัม/ไร่ เมล็ดถั่วพุ่ม 8-10 กิโลกรัม/ไร่ หรือปอเทือง 6-8 กิโลกรัม/ไร่ ไถกลบระยะออกดอก (ปล่อยไว้ 1-2 สัปดาห์) ร่วมกับปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอินทรีย์น้ำ ไถพรวนและปลูกพืชตามแนวระดับ มีวัสดุคลุมดิน หรือปลูกพืขสลับเป็นแถบ พัฒนาแหล่งน้ำและจัดระบบการให้น้ำในแปลงปลูก

ชุดดินที่ 56  (6,413.84 ไร่)

ลักษณะเด่น  

                     กลุ่มดินลึกปานกลางถึงชั้นหินพื้น เศษกินหรือลูกรัง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัด การระบายน้ำดีถึงดีปานกลาง ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ

          สมบัติของดิน

                     เป็นกลุ่มชุดดินที่เกิดจากการสลายตัวผุพังอยู่กับที่ หรือจากการสลายตัวผุพังแล้วถูกเคลื่อนย้ายมาในระยะทางไม่ไกลนัก ขอวัสดุเนื้อหยาบที่มาจากพวกหินตะกอนหรือหินอัคนี พบบริเวณพื้นที่ดอน ที่มีสภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนลาดจนถึงเนินเขาเป็นดินลึกปานกลาง มีการระบายน้ำดี เนื้อดินตอนบนช่วง 50 เซนติเมตร เป็นดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย ส่วนดินลางเป็นดินปนเศษหิน มักพบชั้นหินพื้นลึกกว่า 100 เซนติเมตร สีดินเป็นสีน้ำตาล สีเหลืองหรือสีแดง ปฏิกิริยาดินเป็นจัดมากถึงกรดปานกลาง

          การใช้ประโยชน์

                     ใช้ปลูกพืชไร่ เช่น อ้อย ข้าวโพด มันสำปะหลัง

          ปัญหา

                     ดินมีความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างต่ำ และอาจจะเกิดการชะล้างพังทลายได้ง่าย ถ้าปลูกพืชในบริเวณที่มีความลาดชันมากๆ โดยไม่มีการอนุรักษ์ดินและน้ำที่เหมาะสม

          แนวทางการจัดการดินเพื่อการปลูกพืช

                     ปลูกข้าว

                     ปลูกพืชผักหรือผลไม้   ขุดหลุมปลูกถึงชั้นหินพื้นหรือขุดหลุมขนาด 50x50x50 เซนติเมตร ปรับปรุงหลุมปลูกด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 20-35 กิโลกรัม/หลุม มีระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ เช่นปลูกพืชคลุมดิน ปลูกพืชแซม สร้างคันดิน ทำขั้นบันได ทำแนวรั้วหรือทำฐานหญ้าแฝกเฉพาะต้น ในช่วงเจริญเติบโต            ก่อนเก็บผลผลิตและภายหลังเก็บผลผลิตใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์น้ำ ตามชนิดพืชที่ปลูก พัฒนาแหล่งน้ำและจัดระบบการให้น้ำในแปลงปลูก

                     เลือกพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบ จัดระบบการปลูกพืชหมุนเวียนตลอดทั้งปี ปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 2-3 ตัน/ไร่ หรือไถกลบพืชปุ๋ยสด (หว่านเมล็ดถั่วพร้า 8-10กิโลกรัม/ไร่ เมล็ดถั่วพุ่ม 6-8 กิโลกรัม/ไร่ หรือปอเทือง 4-6 กิโลกรัม/ไร่ ไถกลบระยะออกดอก (ปล่อยไว้ 1-2 สัปดาห์) ร่วมกับปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอินทรีย์น้ำ ไถพรวนและปลูกพืชตามแนวระดับ ปลูกพืชปุ๋ยสด มีวัสดุคลุมดิน หรือปลูกพืชสลับเป็นแถบ ทำแนวรั้วหญ้าแฝก พัฒนาแหล่งน้ำและจัดระบบการให้น้ำในแปลงปลูก

ภาพที่ 1 แผนที่กลุ่มชุดดิน อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่
 (ที่มา : http://gisinfo.ldd.go.th/cd_land_map.html?land_type=LAND_SOIL&province_id=050&amphur_id=05023&tambol_id=/ กรมพัฒนาที่ดิน พ.ศ.2564)
 

ตารางที่ 3 กลุ่มชุดดิน อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ ตารางที่ 3 กลุ่มชุดดิน อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ 

4. สภาพภูมิอากาศ

ภูมิอากาศของแม่ออนนั้น เหมือนกับพื้นที่โดยทั่วไปในภาคเหนือของประเทศไทย กล่าวคือ            มีลักษณะอากาศแบบมรสุมเขตร้อน ทำให้มี 3 ฤดู

ฤดูร้อน            มีอากาศร้อนในช่วงระหว่างเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม                             

ฤดูหนาว          มีอากาศหนาวระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์

ฤดูฝน             มีฝนตกระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม               

แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ของแม่ออนเป็นภูเขาและป่าไม้ทำให้อุณหภูมิโดยเฉลี่ยค่อนข้างเย็นสบาย อาจกล่าวได้ว่าแม่ออนมีลักษณะทางภูมิศาสตร์เหมาะแก่การอยู่อาศัยเป็นอย่างยิ่ง                         เพราะมีภูมิประเทศและภูมิอากาศดี

ตารางที่  4  ข้อมูลปริมาณน้ำฝน  เฉลี่ยปี  พ.ศ. 2559 – 2563

ที่มา : โครงการชลประทานเชียงใหม่ สำนักชลประทานที่ 1 กรมชลประทาน, 2564

5. แหล่งน้ำ และระบบชลประทาน

พื้นที่อำเภอแม่ออน  เกษตรกรส่วนมากทำการเกษตรโดยอาศัยน้ำฝนในช่วงฤดูกาลเพาะปลูก และจากลำน้ำธรรมชาติ  แบ่งได้ดังนี้

1. โครงการชลประทานขนาดกลาง

–  อ่างเก็บน้ำห้วยแม่ออน            ตำบลออนเหนือ

–  อ่างเก็บน้ำบ้านแม่ตะไคร้         ตำบลทาเหนือ

2.  โครงการชลประทานขนาดเล็กอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

–  อ่างเก็บน้ำห้วยโก๋ง                ตำบลทาเหนือ

–  อ่างเก็บน้ำห้วยขมิ้น               ตำบลทาเหนือ

–  อ่างเก็บน้ำห้วยบอน               ตำบลแม่ทา

–  อ่างเก็บน้ำห้วยฝึก                 ตำบลออนเหนือ

–  อ่างเก็บน้ำแม่ฉึก                   ตำบลป่างิ้ว

–  อ่างเก็บน้ำห้วยน้ำขุ่น              ตำบลแม่ทา

–  ฝายบ้านแม่ตะไคร้                 ตำบลทาเหนือ

–  ฝายห้วยขมิ้น                      ตำบลทาเหนือ

–  ฝายแม่ลาย                         ตำบลห้วยแก้ว

–  ฝายห้วยแก้ว                      ตำบลห้วยแก้ว

3. อ่างน้ำภายใต้กรมทรัพยากรน้ำ

–  อ่างเก็บน้ำห้วยบก                 ตำบลบ้านสหกรณ์

–  อ่างเก็บน้ำบ้านสหกรณ์ 1-8     ตำบลบ้านสหกรณ์

ภาพที่ 3  แผนที่แสดงแหล่งน้ำที่สำคัญอำเภอแม่ออน

6. การใช้ประโยชน์ที่ดิน (Land Used)

ตารางที่ 5 แสดงการใช้ประโยชน์ที่ดินอำเภอแม่ออน